ชื่อปริญญา เภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.) Doctor of Pharmacy (Pharm.D.)
วิชาเอก (เลือกวิชาเอกตั้งแต่ขั้นตอนการสมัคร)
- วิชาเอกเภสัชกรรมอุตสาหการ (Industrial Pharmacy)
- วิชาเอกการบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical Care)
ระยะเวลาการศึกษา ตามแผนการเรียน 6 ปี ปีละ 2 ภาคการศึกษา
สถานที่จัดการเรียนการสอน
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถนนรังสิต-นครนายก อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าจากสถานศึกษาที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ
ค่าธรรมเนียมการศึกษา คิดแบบเหมาจ่ายจำนวน 45,000 บาท ต่อภาคการศึกษา (อาจมีการเปลี่ยนแปลง)
ช่องทางการสมัครเข้าศึกษา
1.ผ่านระบบรอบ Portfolio
2.ผ่านระบบโควตา (โรงเรียนสาธิต มศว และโรงเรียนมัธยมในเขต 7 ได้แก่ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว) และโรงเรียนในเขตพื้นที่ปริมณฑล
3.ผ่านระบบกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท)
4.ผ่านระบบแอดมิชชั่น (admission)
จำนวนรับในปีการศึกษาล่าสุด
- วิชาเอกเภสัชกรรมอุตสาหการ จำนวน 70 คน (Portfolio 10 คน / โควตา 15 คน / กสพท 20 คน และ Admission 25 คน)
- วิชาเอกการบริบาลทางเภสัชกรรม จำนวน 30 คน (Portfolio 5 คน / กสพท 20 คน และ Admission 5 คน)
โครงสร้างหลักสูตร
ประกอบด้วยหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ 188 หน่วยกิต และหมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต (รวม 224 หน่วยกิต)
Timeline การศึกษาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
แนวทางการประกอบวิชาชีพ
เมื่อสำเร็จการศึกษาและสอบผ่านเพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมแล้ว สามารถประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาต่างๆ ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน ตัวอย่างเช่น
- เภสัชกรโรงพยาบาลในสถานพยาบาลทุกระดับ
- เภสัชกรชุมชนประจำร้านยา
- เภสัชกรประจำโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ เครื่องสำอาง อาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในด้านวิจัยและพัฒนา การผลิต วิเคราะห์ ประกันคุณภาพ
- เภสัชกรด้านคุ้มครองผู้บริโภค เช่น เภสัชกรที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลมาตรฐานของโรงงานและผลิตภัณฑ์ยา ในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และเภสัชกรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
- เภสัชกรด้านการศึกษา เช่น อาจารย์ นักวิจัย
- เภสัชกรด้านการวิจัยทางคลินิก
- เภสัชกรด้านการขึ้นทะเบียนยา
- เภสัชกรการตลาดยา